top of page
มาทำความรู้จักกับ ‘ดนตรีตะวันตก’ กันก่อน

‘ดนตรีตะวันตก’ นั้นมีพื้นฐานมาจากเครื่องดนตรีของชนชาติกรีกโบราณ ซึ่งในยุคแรกพวกเขาสร้างเครื่องดนตรีขึ้นมา 3 ชนิดได้แก่ lyre , Ketara , andaros และ Auros จนกระทั่งต่อมา ได้มีการพัฒนาสร้างเครื่องดนตรีประเภทต่างๆออกมามากมายมีทั้ง เครื่องสาย , เครื่องเป่า , เครื่องทองเหลือง , เครื่องตี , เครื่องดีด และเครื่องเคาะ เช่น เปียโน , ไวโอลิน , ฟรุต  , ทรัมเป็ต , กลองชุด , กีตาร์ เป็นต้น โดยเครื่องดนตรีสากลถูกนำมาใช้ตั้งแต่สมัยโบราณมาจนถึงปัจจุบัน โดยโครงสร้างของดนตรีตะวันตกนั้นมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ตามความคิด รวมทั้งความชอบของผู้ประพันธ์เพลง จึงก่อให้เกิดเป็นลักษณะของดนตรีในแต่ละยุคสมัยขึ้นมา และยังมีเอกลักษณ์ของดนตรีแตกต่างกัน

มาทำความรู้จักกับ ‘ดนตรีตะวันออก’ กันก่อน

ดนตรีในภูมิภาคเอเชียนั้นมีความหลากหลายเป็นอย่างมาก โดยในเรื่องของวัฒนธรรมเพลงนั้นสามารถแบ่งย่อยออกเป็นภูมิภาค นอกจากนี้ในบางประเทศนั้นวัฒนธรรมของแต่ละภูมิภาค ได้สร้างชนิดของดนตรียิบย่อยในภูมิภาคเอเชียโดยเอเชียแบ่งออกเป็น 4 ภูมิภาคหลัก ได้แก่

โดยในแต่ล่ะภูมิภาคเหล่านี้ ล้วนแล้วแต่เป็นที่อยู่อาศัยของประเทศหลายประเทศ ที่มีคุณลักษณะแตกต่างกันทั้งหมดโดยมีแนวดนตรีที่ไม่ซ้ำกันมาตลอดศตวรรษอันยาวนาน ในประวัติศาสตร์ต่างก็มีเพลงในรูปแบบของแต่ละประเทศในเอเชีย ที่ไม่ซ้ำกัน ต่างมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง ยกตัวอย่างเช่น เพลงเอเชียใต้เป็นเพลงทีสอดแทรกอยู่ในศาสนาฮินดู , อิสลาม และศาสนาพุทธ โดยศาสนาเหล่านี้เป็นศาสนาหลักในประเทศ บังคลาเทศ, อินเดีย, ปากีสถาน และศรีลังกา โดยทางประเทศอินเดียนั้นก็ได้รับอิทธิพลมาไม่น้อยจากวัฒนธรรมตะวันตก หากแต่ว่าเพลงเอเซียในภาคใต้ส่วนใหญ่เป็นเพลงที่อยู่ในแนวทางของศาสนาและประเพณีมากในหลากหลายรูปแบบ ทางด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครอบคลุมพื้นที่มากกว่า 10 ประเทศ ค่อนข้างมีความหลากหลายในธรรมชาติเป็นอย่างมาก และด้วยความหลากหลายทางวัฒนธรรมดังกล่าวนี้ จึงทำให้มีเพลงที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละประเทศ โดยเพลงเอเชียนั้นจะมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ซึ่งครอบคลุมไปถึงการศึกษาในหลายร้อยประเภท

      เอเชียกลาง

      เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

      เอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ

      เอเชียตะวันตก

why - ทำไมถึงทำโปรเจคนี้

   เพราะอย่างที่รู้ๆกันอยู่ว่า ดนตรีพื้นบ้านทั่วโลกกำลังถูกกลืนกินไปจากดนตรีสากล ทำให้ค่อยๆสูญหายตายจากไปเรื่อยๆ แต่ละท้องที่ก็เลยเกิดLocal Rep ที่เป็นตัวแทนสานต่อศิลปะพื้นบ้านให้คงอยู่ ทีนี้ พอมันหลายท้องที่มากขึ้นๆ ก็เลยกลายเป็นการรวมตัวแบบASEANเพราะยังไงดนตรีแถบนี้ก็มีใกล้เคียงกัน มีการเผยแพร่ สืบทอดกันมานานนับร้อยปีอยู่แล้ว

How – ทำยังไง

   สิ่งแรกที่เริ่มทำคือหาข้อมูลระดับเสียงของไทยก่อนเพราะว่าการที่เราจะเอาเครื่องดนตรีตะวันตกไปเล่นบนเพลงไทย เราต้องหาความถี่ของเครื่องดนตรีไทยที่ใช้เทียบระดับเสียงก่อน และจึงนำเครื่องดนตรีตะวันตกมาเทียบระดับเสียงให้ใกล้เคียงกับเครื่องดนตรีไทยมากที่สุด

Sound system

การเทียบเสียงไทยเเละสากล.jfif
Sound system.jpg

ภาพแสดงสัดส่วนเปรียบเทียบช่วงเสียงดนตรีไทยกับดนตรีตะวันตกในหนังสือบันทึกโน้ตเพลงไทย

จากการที่ศึกษาในเรื่องนี้มาตามข้อมูลของประวัติศาสตร์ดนตรีไทยเล่าว่าดนตรีไทยนั้นแบ่งลำดับโน้ตในบันไดเสียงออกเป็น7เสียงเท่าๆกันในหนึ่งคู่8 โดยถ่ายทอดกันมาแบบปากต่อปาก แต่ความจริงนั้นมีผู้ค้นพบว่าระยะห่างระหว่างตัวโน้ตทั้ง7ไม่ตรงกับทฤษฎีทางประวัติศาสตร์ดนตรีไทยเลย เพราะตัวเลขมีค่าเบี่ยงเบนออกไปจากเดิมอย่างมาก และนี่ก็เป็นภาพประกอบการเปรียบเทียบช่วงเสียงของดนตรีไทยและดนตรีตะวันตก

โดยการศึกษาข้อมูลในครั้งนี้ ได้นำบทเพลงของฝั่งตะวันตกมาจดบันทึกเป็นเเบบฝั่งตะวันออกโดยใช้เครื่องดนตรีของฝั่งตะวันออกบรรเลง จึงทำให้มีความคิดริเริ่มโดยการนำเพลงไทยมาทำใหม่เพื่อให้ Clarinet Quintet  ที่เป็นเครื่องดนตรีฝั่งตะวันตก จึงชักชวนรุ่นน้องของหนู นาย จิรพัฒน์ กรุตรนิยม เรามาอ่านบทสัมภาษณ์ของผู้เรียบเรียง

บทเพลงนี้กัน

 

281219616_621860266190167_8193297874279093262_n.png

ตัวอย่างการบันทึกบทเพลง

พี่ฟ้านั้นได้ชักชวนผมเพื่อมาเรียบเรียงบทเพลงไทยเพื่อให้วง Clarinet Quintet เล่นเนื่องจากมีนักศึกษา

เอกคลาริเน็ตในสถาบันพอดีจำนวน จึงคิดริเริ่มเพลงลาวดวงเดือนมาเรียบเรียงใหม่ โดยตัวบทเพลงที่ผมได้เรียนเรียงใหม่นั้น จะมีทำนองของ Carnival of venice ซึ่งเป็นบทเพลงหนึ่งใน Recital ครั้งนี้เเละหลังจากนั้นจะเข้า

ทำนองของลาวดวงเดือน เเละในส่วนท้ายของบทเพลงก็นำบทเพลงด้วยเครื่องดนตรีที่ระยะเสียงที่ต่ำลงเรื่อยๆ

bottom of page